ระบบการผลิตยุคใหม่
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นของระบบการผลิตแบบโตโยต้า หลักสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
1. การปรับเรียบการผลิต คือ การผลิตเป็นล็อตเล็ก ๆ
2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต
3.สร้างมาตรฐานงาน และควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิตหนึ่ง
ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกำบังมาใช้สำหรับการสื่อสาร ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน ดังนั้น ทุก ๆ กระบวนการผลิตจึงใช้อัตราความเร็วของงานเท่ากันและใช้ระบบดึง คือ หน่วยงานหลังดึงชิ้นงานจากหน่วยงานหน้าเพื่อนำมาประกอบต่อ ส่วนหน่วยงานหน้าจะผลิตชิ้นส่วนทดแทนในจำนวนเท่ากับจำนวนชิ้นงานที่ถูกดึงไป ในส่วนผลที่ได้รับในการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ การเพิ่มคุณภาพสินค้าและลดของเสียระหว่างการผลิตให้น้อยลง
ระบบการผลิตแบบลีนเป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่า ทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและการบริการแก่ลูกค้า นิพนธ์ บัวแก้ว ได้ระบุหลักการของลีน 5ข้อ ดังนี้
1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งภายใต้มุมมองของลูกค้า
2 การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่าซึ่งระบุถึงกิจกรรมที่ต้องทำ
3 การทำให้เกิดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่จะให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก่อต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
5 การสร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนค้นพบความสูญเปล่าและขจัดให้หมดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น