หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Infographic กลยุทธ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


      Instagram   ใช้อัฟภาพสินค้าที่ที่ขาย  เพราะในปัจจุบันนี้ Instagram นั้นค่อนข้างจะเป็นแอฟที่ได้รับความนิยมอยู่มาก
      Application  ทางร้านจัดทำ Application เพื่อให้ลูกค้าสามารถ ดาวน์โหลด App ลงบนมือถือได้ เพื่อใช้ในการดูสินค้า หรือสั่งสินค้า
      Google plus ใช้ Google plus ในการลงข้อมูลสินค้าของทางร้านสำหรับลูกค้าของทางร้าน
      Website เป็นช่องทางที่ 2 สำหรับการติดต่อซื้อขายเพราะในสมัยนี้หลายๆ คนมีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างมาก Website จะมีการลงรูปสินค้า  รายละเอียดของสินค้า และให้ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้าน
      Facebook,Fanpage,Twitter ทำเป็นเฟจให้คนที่สนใจเข้ามาติดตามเฟจ เพื่อดูสินค้าที่ทางร้านได้อัฟลง และสามารถสั่งซื้อได้เลย
      Webbord นำมาทำเป็นกระดานสนทนาสำหรับลูกค้าที่อาจจะมีความไม่เข้าใจในตัวสินค้า  หรือต้องการสอบถามสินค้าของทางร้าน
      Messenger นำมาส่งข้อความระหว่างทางร้านกับลูกค้า
      TV online,Radio online ทำเป็นรายการแนะนำสินค้าของทางร้าน
      Promotion การจัดโปรโมชันจะช่วยดึงให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะไม่ว่าอย่างไรหลายๆ คนก็อยากจะได้สินค้าราคาถูกกันทั้งนั้น
      Cartoon นำการ์ตูนมาเป็นตัวแนะนำสินค้า ซึ่งการ์ตูนก็น่าจะสามารถดึงดูดความสนใจจากลุกค้าได้มากขึ้น เพราะการ์ตูนสามารถดูแล้วเข้าใจง่าย
      Brochure นำ Brochure มาเป็นตัวกระจายสินค้า ใน Brochure ก็มีการนำเอารายละเอียดสินค้าของทางร้าน การบริการ หรืออาจจะบอกที่อยู่ของทางร้าน เพื่อง่ายต่อการเดินทางมาซื้อขายสินค้าได้สะดวก
      Pop-up นำมาใช้ในการอธิบายคุณสมบัติของสินค้าแต่ละตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นก่อนการซื้อสินค้า
      Forwordmaill ทำการ Forwormaill ข้อมูลทางร้านส่งต่อไปเรื่อยๆ
      Cable TV ทำเป็นรายการแนะนำสินค้าของทางร้าน
      Line  ใช้โพส รูปสินค้าลงใน Line ให้ลูกค้าดูและใช้คุยรายละเอียดสินค้ากับลูกค้า
      Videoclip ใช้ถ่ายระบบการบริการของทางร้าน  ถ่ายสินค้าในร้านว่ามีอะไรบ้าง และถือเป็นการโปรโมทร้านไปในตัว
      Blogger นำรายละเอียดของสินค้ามาใส่ใน Blogger เพื่อเป็นตัวช่วยการตัดสินใจในการซื้อสินค้า และมีการอัฟเดตข้อมูลสินค้าของทางร้านอยู่ตลอดเวลา
    



เทคโนโลยีทางการผลิต


ระบบการผลิตยุคใหม่
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นของระบบการผลิตแบบโตโยต้า หลักสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
      กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
1. การปรับเรียบการผลิต คือ การผลิตเป็นล็อตเล็ก ๆ
2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต
3.สร้างมาตรฐานงาน และควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิตหนึ่ง
    ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกำบังมาใช้สำหรับการสื่อสาร ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน ดังนั้น ทุก ๆ กระบวนการผลิตจึงใช้อัตราความเร็วของงานเท่ากันและใช้ระบบดึง คือ หน่วยงานหลังดึงชิ้นงานจากหน่วยงานหน้าเพื่อนำมาประกอบต่อ ส่วนหน่วยงานหน้าจะผลิตชิ้นส่วนทดแทนในจำนวนเท่ากับจำนวนชิ้นงานที่ถูกดึงไป ในส่วนผลที่ได้รับในการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ การเพิ่มคุณภาพสินค้าและลดของเสียระหว่างการผลิตให้น้อยลง
ระบบการผลิตแบบลีนเป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทำให้เกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่า ทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและการบริการแก่ลูกค้า นิพนธ์ บัวแก้ว ได้ระบุหลักการของลีน 5ข้อ ดังนี้
การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยอาจใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งภายใต้มุมมองของลูกค้า
การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่าซึ่งระบุถึงกิจกรรมที่ต้องทำ
การทำให้เกิดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่จะให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก่อต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
การสร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนค้นพบความสูญเปล่าและขจัดให้หมดไป


วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการโลจิสติกส์

           การบริหารการจัดการโลจิสติกส์ ( Management) หมายถึง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล และธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
         โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
          “Logistics หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า จากแหล่งที่ผลิต (Source of Origin) จนสินค้าได้มีการส่งมอบไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ (Source of Consumption) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลา (Just in Time) และเพื่อลดต้นทุน โดยมุ่งให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้า (Customers Satisfaction) และส่งเสริมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆของระบบ Logistics จะต้องมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องประสานกัน ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน” 

เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics
1)    ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
2)    การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
3)    การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
4)    การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาด (Market Demand)
5)    ลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า (Cargoes Handling & Carriage Cost)
6)    เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Core Competitiveness)

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์
1.    Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
2.    Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
3.    Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
4.    Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
5.    Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
6.    Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.    Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา(Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
8.    Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
9.    Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต



ระบบสารสนเทศทางการผลิต

   ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน  ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน  การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ  โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การจัดการผลิตและดำเนินงาน
    การผลิตและการดำเนินงาน  คือ  กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น
    กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงานเพราะปัจจัยการผลิต  คือ  สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเอง  หากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วย  ทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานและด้านบริหาร  สินทรัพย์ประเภททุน  ก็ยังมีสิ่งนำเข้ากระบวนการผลิตอื่นที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของธุรกิจ คือ ความคิดเห็นของลูกค้าภายในละภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านผลการประกอบการขององค์การ
     วิวัฒนาการการผลิต
   ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ  เวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งหรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง  มาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง
กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
    จะเน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ  อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต  การผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น  ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น  3 กลยุทธ์ ดังนี้
1.             การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที  เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
2.        การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า
3.             การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กลยุทธ์ธุรกิจ


socialmedia_1-2


กลยุทธ์ทางธุรกิจ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ ยุทธวิธีเพื่อความสำเร็จ
กลยุทธ์เป็นแผนของ แนวทางการจัดการพื้นฐานที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือการวางแผนที่จะจัดการให้บรรลุของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้” กลยุทธ์ในแต่ละระดับสามารถที่จะกำหนดทิศทางของแต่ละองค์กรในอนาคตได้ ดังนั้นการแข่งขันในธุรกิจการผลิตที่ควรใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ 


การวิเคราะห์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ร่วมไปด้วยกันจะสามารถทำให้เห็นภาพแนวโน้มการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่พยายาม จะเพิ่มขีดความสามารถและมีความพร้อมที่จะแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ตามทิศทางขององค์กรได้ 
โดยทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากภายนอก และสิ่งแวดล้อมจากภายใน องค์กรสามารถที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือแผนสำหรับดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ ซึ่งรูปแบบกลยุทธ์สามารถที่จะกำหนดและแบ่งออกได้ตามลำดับขององค์กรดังนี้ 

1. กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
หมายถึงทิศทางรวมของธุรกิจซึ่งเป็นทิศทางที่ใช้อธิบายแนวทางร่วมกันในการพัฒนา ธุรกิจบนพื้นฐานความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม หรือเป็นการกำหนดทิศทางที่เป็นเอกภาพของธุรกิจโดยรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้งเป็นการกำหนดว่า องค์กรจะมีการแข่งขันที่ดำเนินไปในทิศทางใด เป็นวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดทิศทางขององค์กร อาจจะมีการกำหนดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการหรือไม่ก็ได้ แต่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ ไปในแนวทางขององค์กรที่ให้บุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกสามารถรับรู้ได้ 

2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) 
หมายถึง แนวทางหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุแผนทิศทางรวมของบริษัท เป็นกลยุทธ์ธุรกิจคือเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมในระดับนี้ กลยุทธ์ที่ใช้อาจหมายถึงกลยุทธ์ในการขยายการตลาด (Market Expansion) กลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Penetration) กลยุทธ์ในการพัฒนาการตลาด (Market Development) กลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และกลยุทธ์ในการขยายไปสู่ธุรกิจอื่น (Diversification) เป็นการคัดเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะเหมาะสมเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรในระดับกลยุทธ์นี้ ซึ่งจะถือว่าเป็น (Mission) ที่สำคัญขององค์กรแสดงถึงขอบเขตของการดำเนินกิจการ 

3. กลยุทธ์ระดับสายงาน (Functional Strategy) 
หมายถึงแนวนโยบายตามสายการแบ่งงาน เป็นการนำกลยุทธ์มาใช้ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุได้ซึ่งวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์กรที่สามารถประเมินค่าออกมาได้อย่างชัดเจน และจะเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องครอบคลุมทุกหน่วยงานภายในองค์กรให้มีการสอดประสานกันเพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่หน่วยปฏิบัติงาน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น

Strategic Planning คือ
Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์) คือการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันของผู้บริหารภายในองค์กร ว่าธุรกิจภายในองค์เป็นเช่นไร ซึ่งอาจวัดได้จากเวลา 1-3 ปีที่ผ่านมา รายรับและรายจ่ายเป็นเช่นไร ซึ่งหากพบปัญหา เช่นยอดขายลดลง ขาดทุนต่อเนื่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ สามารถนำ Strategic Planning การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มาแก้ปัญหาได้ โดย
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ต้องตอบคำถาม 3 ประการ
1. ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2. ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3. จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เพื่อ
1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
3. กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์
ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4. ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมของ
องค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร


เกณฑ์สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์
• เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
• เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
• เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในระยะยาว
• เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น ที่เหมาะสม
• เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้

สาเหตุที่ทำให้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ล้มเหลว
• วิสัยทัศน์ ภารกิจ ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
• การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
• สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
• หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
• การพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถวางแผนอัตรากำลัง และไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 5 ขั้นตอน 
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
จุดอ่อน งานด้านบริการที่ต้องปรับปรุง สภาพของรถไฟที่เก่า ความสะอาดที่ยังไม่ทั่วถึง
จุดแข็ง ประหยัด ปลอดภัย
โอกาส ขึ้นอยู่กับงบประมาณ เนื่องจาก การรถไฟฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ หากต้องทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่ต้องใช้งบประมาณสูง ต้องรับรับความเห็นชอบ และงบประมาณจากรัฐบาล ทั้งนี้ต้องให้รัฐฯ เห็นปัญหา แนวทางแก้ไข และสิ่งที่คาดว่าจะได้รับในการปรับปรุงครั้งนี้ 
อุปสรรค รถไฟต้องให้บริการกับผู้โดยสารทุกวัน เพราะฉะนั้นการที่จะทำการปรับปรุงครั้งเดียวเสร็จคงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเราอาจเลือกในช่วงที่ไม่มีเทศกาลการกลับถิ่นฐาน ค่อยๆ ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมขบวนรถไฟ


2. จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
ทำหนังสือแจ้งให้ทราบถึงแนวทาง และหลักปฏิบัติ โดยทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้บริหาร ระดับกลางและล่าง ที่เข้าร่วมประชุม นำข้อสรุป ที่ได้รับมาจากการประชุมคณะผู้บริหาร ต้องชื้แจงและอธิบายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบโดยทั่วกัน
3. กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์
ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
1. จัดทำงบประมาณในการปรับปรุง ซ่อมแซม
2. กำหนดช่วงระยะเวลาในการดำเนินการ ซ่อมแซม
4.ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
ดำเนินการตามที่กำหนดไว้
5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ทำการประเมินผลโดย คะแนนการตรวจสอบจากผู้บริหาร จากนั้น 3 เดือน จัดทำแบบสอบถามความพึ่งพอใจของผู้โดยสาร อีก 3 เดือน สรุปรายได้ ก่อนและหลังการปรับปรุง 6 เดือน หากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ให้ดำเนินการต่อ เพิ่มและลดสิ่งที่เห็นสมควร



เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ความหมายของระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ 

          ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Information System) หมายถึง กลุ่มของระบบงานที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์หรือตัวอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ จัดเก็บ และกระจายข้อมูล ข่าวสาร รายงาน ที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว ตรงเวลาให้กับผู้ใช้ เพื่อการนำไปวิเคราะห์ เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจ การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ การควบคุมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร และการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหารงานของผู้บริหารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต นอกจากนี้ ยังช่วยประสานงาน วิเคราะห์ปัญหา การสร้างแบบจำลองทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดหลักการและกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ใหม่ๆ 

          นอกจากนั้นงาน HRIS จึงอาจจะหมายถึง วิธีการส่งมอบงานบริการใหม่ๆ แก่ลูกค้าของเรา ผ่านกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับการส่งรหัสสารสนเทศจากฝั่ง Hr ไปสู่การถอดรหัสสารสนเทศของฝั่งลูกค้า Hr โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาทำงานส่งมอบบริการแทนเจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการให้บริการแบบเผชิญหน้า แต่มีข้อดีกว่า คือ สามารถให้บริการโดยไม่จำกัด เวลา สถานที่ และที่สำคัญ คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และไม่ลดความพึงพอใจของลูกค้า องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ มีหนังสือวิชาการหลายเล่มที่กล่าวถึง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ไว้ ซึ่งมีเนื้อหาและแนวคิดคล้ายคลึงกัน ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการอธิบาย ผมจึงขอกล่าวถึงข้อสรุปตามแผนภาพนี้นะครับ 

          กระบวนการ 5 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ จะเห็นว่าการจัดทำโครงการระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว หากคุณคิดไม่เป็นระบบหรือมองไม่ครบถ้วนในทุกด้าน คุณก็อาจจะเจอกับปัญหาที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายใต้น้ำที่ตามมาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนหรืออกแบบโครงการก็เป็นได้ Ceriello & Freeman เสนอแนวคิดว่า การจัดทำโครงการระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ ก็เหมือนกับการคิดสร้างบ้าน คือ คุณต้องประเมินตนเองก่อนว่า จะสร้างบ้านแบบไหน เช่น เป็นบ้านเดี่ยว บ้านตึก บ้านไม้ทรงไทย หรือบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น จะมีกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ ฯลฯ เมื่อได้รูปแบบความต้องการที่ชัดเจนแล้ว คุณควรจะรู้งบประมาณโดยคร่าวๆ รู้วัสดุที่จะใช้ รู้ว่าจะใช้เวลาสร้างบ้านประมาณกี่เดือน เมื่อได้ข้อมูลมากพอคุณก็จะเขียน spec ของบ้านได้ และสามารถออกแบบโครงร่างแบบบ้านได้ ในขั้นต่อไป คือ การตัดสินใจว่าจะเลือกสร้างบ้านเอง หรือจะจ้างผู้รับเหมามาทำให้ ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อคุณตัดสินใจไปแล้ว สิ่งสำคัญที่ตามมา คือ คุณต้องเข้าใจว่าในระหว่างการก่อสร้าง คุณจะมีระบบการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานของผู้สร้างบ้านได้อย่างไร และจะมั่นใจได้อย่างไรว่าบ้านที่สร้างตรงกับความต้องการของคุณ สมาชิกในครอบครัว ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลัง และหากมีปัญหาจะสามารถซ่อมบำรุงรักษาสิ่งเหล่านั้นให้กลับคืนสู่สภาพที่ควรจะเป็นได้อย่างไร โดยไม่ใช้งบประมาณเพิ่ม หรือใช้งบแบบบานปลาย 

          สำหรับในทางปฏิบัติจริงๆ พวกเราชาว Hr เองก็มีข้อจำกัดหลายด้านทีเดียว กล่าวคือ พวกเรารู้ว่าต้องการสร้างบ้านแบบใด และต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อะไรบ้างภายในบ้านของเรา แต่จากประสบการณ์ของผมที่ทำงานในสายงานบริหารทรัพยากรมนุษย์มาหลายปี แม้แต่ตัวผมเองก็ยังพบว่า ไม่สามารถจัดทำโครงการระบบสารสนเทศในงานทรัพยากรมนุษย์ได้ดีเยี่ยม ผมยังไม่สามารถค้าหาซอฟต์แวร์ที่ตอบคำถามและความต้องการของตนเองได้แบบโดนใจจริงๆ ซึ่งจากการประเมินแล้ว ผมพบว่าสาเหตุที่เป็นอย่างนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ผมเองยังไม่มีความรอบรู้ลึกในสายงานมากพอ จนสามารถเขียนความต้องการเหล่านั้นมาเป็นคู่มือ Work Flow จนสามารถถ่ายทอดความต้องการของตนเองมาสื่อสารกับคนไอทีที่เขียนโปรแกรมให้เข้าใจได้นั่นเอง 

          บี เกรก มายเออร์ และแพทริกา ออบเบิร์นดอร์ฟ (2001: 147-159) ได้กล่าวถึง เส้นทางแสดงการได้มาของซอฟต์แวร์ว่า ธรรมชาติของการได้มาซึ่งระบบซอฟต์แวร์โดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ หรืออธิบายได้ตามแผนภาพที่ 5 เส้นทางแสดงการได้มาของซอฟต์แวร์ดังนี้

  • การกำหนดความต้องการ (Requirements)
  • การอ้างอิงแบบจำลอง (Reference Model)
  • การกำหนดองค์ประกอบและรูปแบบ
  • การกำหนดมาตรฐาน (Standards)
  • การนำไปใช้งาน (Implementations)
  • การบูรณาการและการทดสอบ (Integration&Testing)
  • การกระจายงานและการสนับสนุน

          ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสัญญาซื้อหรือว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ จากบทความเรื่อง Vendor Relations ของบริษัท KPMG Peat Marwick LLP ( 2001) ได้กล่าวว่า โดยพื้นฐานทั่วไปแล้วผู้ขายซอฟต์แวร์มักต้องการทำให้ผู้ซื้อมั่นใจเสมอ และต่างฝ่ายจะยอมรับในการบริหารงานโดยมีความเสี่ยงร่วมกันภายใต้เงื่อนไขของสัญญาที่ตกลงกันไว้ สำหรับผลในทางปฏิบัติ ก็ยังพบว่ายังมีปัญหาเกิดขึ้นตามมีอีกหลายประการ ดังเช่นตัวอย่างของกลุ่มบริษัท Gartner Group ได้พบปัญหาจากการเขียนวัตถุประสงค์โครงการไว้ไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถวัดผลสำเร็จได้ที่ต้องการ นอกจากนั้นยังทำให้ต้องสูญเสียเวลา ทรัพยากรจำนวนมากกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ในขณะที่ผู้ขายเองก็ไม่แสดงเจตนาที่ดีต่อการเขียนข้อตกลง ในเรื่องของขอบเขตงาน คุณภาพงาน หรือการให้สัญญาเกี่ยวกับปรับปรุงซอฟต์แวร์เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในบทความฉบับนี้จึงได้มีการสรุปแนวทางเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับโครงการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถประเมินผู้ขาย และคัดเลือกผู้ขาย และลดปัญหาจากจากการทำสัญญาซื้อขายซอฟต์แวร์ ที่เรียกว่า “Service Level Agreements (SLAs)” ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการทำสัญญาตามมาตรฐานของผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์
  2. ไม่ควรลงนามในสัญญาขณะที่เนื้อหายังไม่สมบูรณ์
  3. ให้ตรวจประเมินทุกสิ่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อน
  4. เขียนสัญญาให้ครอบคลุมในเรื่องของการบริการ
  5. เขียนสัญญาให้ครอบคลุมถึงระบบการรายงานผลหรือเครื่องมือติดตามผลสำเร็จของงาน
  6. ต้องระบุถึงขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโครงการ
  7. เขียนสัญญาให้ครอบคลุมถึงการมีคู่มือหรือขั้นตอนปฏิบัติ
  8. เขียนสัญญาให้ครอบคลุมถึงกรณีการยกเลิกสัญญา และมีเอกสารที่กล่าวถึงการบทลงโทษและการบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นรูปธรรม
  9. ระมัดระวังในหัวข้อที่ยินยอมให้เปลี่ยนแปลงได้แบบมีเงื่อนไข
  10. เขียนให้ครอบคลุมถึงการสนับสนุนแก่พนักงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด
  11. หลีกเลี่ยงการเขียนโดยยินยอมให้ผู้ขายพ้นจากความรับผิดชอบ
  12. เขียนให้ครอบคลุมถึงกำหนดการ แผนงานและการส่งมอบ
  13. ควรระบุในเรื่องของการเรียกร้องหรือการลงโทษหากผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน
  14. ต้องสามารถวัดผลหรือความก้าวหน้าได้อย่างชัดเจน
  15. สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนทางธุรกิจ
  16. กำหนดแผนดำเนินงานจากความต้องการไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  17. ต้องระบุถึงการใช้ทรัพยากรหรือการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ กับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอก
  18. ต้องกำหนดให้มีการประชุมทบทวน การปรับปรุงสถานะโครงการอย่างสม่ำเสมอ และกำหนดคุณค่าจากการบทเรียนต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน
          นอกจากยังได้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญว่า การที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้นั้น บริษัทเจ้าของโครงการ จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ขาย เช่น การอนุญาตให้ผู้ขายเรียนรู้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของงาน เพื่อทำให้ประโยชน์ในการปรับปรุงโครงการร่วมกัน และจะทำให้บริษัทสามารถลดปัญหาความผิดพลาด และผู้ขายให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่หากมีปัญหาเกิดขึ้นหลังจากโครงการได้ส่งมอบแล้ว
          จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมบนอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์ www . workforce . com ในหน้าของเว็บบอร์ดสนทนา( chat ) เข้าถึงได้จาก http :// www . workforce . com / phpBB / viewtopic . php?topic =21458 &forum =57 & 15 ( 29 มี.ค. 2547 ) ได้มีการกล่าวถึงหัวข้อคำถามเกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และได้มีผู้ที่ทำงานในสายวิชาชีพทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาแนะนำให้ความรู้ โดยสรุปได้ดังนี้ ปัจจุบันแนวโน้มของซอฟต์แวร์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังในเรื่องของความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น กระบวนการที่จะได้มาซึ่งความสำเร็จของซอฟต์แวร์นั้น มาจากการมีระบบประเมินผลการปฏิบัติและมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้มีประเด็น คำถามบางคำถามที่ควรพิจารณาหากองค์การจะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานของซอฟต์แวร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการที่ดี ได้แก่
  1. องค์การมีกลยุทธ์ที่สามารถแปลงไปสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนอย่างไร มีตัวชี้วัดสำคัญอย่างไร
  2. วัตถุประสงค์เหล่านี้สามารถทำให้บรรลุความต้องการขององค์การได้หรือไม่
  3. ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มความสามารถในการสนับสนุนการทำงานของ Line Manager จากการใช้ซอฟต์แวร์
  4. ทำอย่างไรจึงเพิ่มความสามารถในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานได้เป็นรายบุคคล
  5. ทำอย่างไรจึงจะทำให้พนักงานหรือผู้จัดการ ทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ จะมีตัวชี้วัดอะไรที่สามารถนำมาประเมินผลการทำงานของแต่ละคนได้อย่างไร
  6. ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยเหลือในการเพิ่มความสามารถในการทำงานตามหัวข้อข้างต้นได้อย่างไร
นอกจากนั้นยังมีการให้คำแนะนำว่า การพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ด้วย
  1. ผู้ซื้อต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบโดยรวมของซอฟต์แวร์เสียก่อน การ Demo โปรแกรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  2. ต้องรู้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์มีการสนับสนุนอะไรบ้าง ที่ช่วยลดการทำงาน หรือเพิ่มความสามารถการทำงานของผู้ใช้
  3. ต้องมั่นใจว่าระบบดังกล่าวสนับสนุนการใช้งานหลายระดับ( multi - levels ) และมีความน่าเชื่อถือในระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล
  4. ต้องมั่นใจว่านโยบาย กฎระเบียบของบริษัท สนับสนุนให้ผู้ใช้ไม่ขัดแย้งกับข้อกฎหมาย
  5. ต้องสามารถเข้าถึงผู้ใช้โดยตรงหรือเข้าไปช่วยเหลือผู้ใช้บนเครื่องปฏิบัติการในขณะมีการใช้งานจริง 6. ต้องมีความสะดวกในการใช้งาน( User-Friendly) หรือมีเครื่องมือช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ...เนื่องจากข้อจำกัดของเนื้อที่ในบทความที่มา http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17618/