การจัดการเชิงกลยุทธ์ ยุทธวิธีเพื่อความสำเร็จ
กลยุทธ์เป็นแผนของ แนวทางการจัดการพื้นฐานที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือการวางแผนที่จะจัดการให้บรรลุของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้” กลยุทธ์ในแต่ละระดับสามารถที่จะกำหนดทิศทางของแต่ละองค์กรในอนาคตได้ ดังนั้นการแข่งขันในธุรกิจการผลิตที่ควรใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ
การวิเคราะห์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ร่วมไปด้วยกันจะสามารถทำให้เห็นภาพแนวโน้มการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่พยายาม จะเพิ่มขีดความสามารถและมีความพร้อมที่จะแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ตามทิศทางขององค์กรได้
โดยทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากภายนอก และสิ่งแวดล้อมจากภายใน องค์กรสามารถที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือแผนสำหรับดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ ซึ่งรูปแบบกลยุทธ์สามารถที่จะกำหนดและแบ่งออกได้ตามลำดับขององค์กรดังนี้
1. กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
หมายถึงทิศทางรวมของธุรกิจซึ่งเป็นทิศทางที่ใช้อธิบายแนวทางร่วมกันในการพัฒนา ธุรกิจบนพื้นฐานความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม หรือเป็นการกำหนดทิศทางที่เป็นเอกภาพของธุรกิจโดยรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้งเป็นการกำหนดว่า องค์กรจะมีการแข่งขันที่ดำเนินไปในทิศทางใด เป็นวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดทิศทางขององค์กร อาจจะมีการกำหนดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการหรือไม่ก็ได้ แต่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ ไปในแนวทางขององค์กรที่ให้บุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกสามารถรับรู้ได้
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
หมายถึง แนวทางหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุแผนทิศทางรวมของบริษัท เป็นกลยุทธ์ธุรกิจคือเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมในระดับนี้ กลยุทธ์ที่ใช้อาจหมายถึงกลยุทธ์ในการขยายการตลาด (Market Expansion) กลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Penetration) กลยุทธ์ในการพัฒนาการตลาด (Market Development) กลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และกลยุทธ์ในการขยายไปสู่ธุรกิจอื่น (Diversification) เป็นการคัดเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะเหมาะสมเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรในระดับกลยุทธ์นี้ ซึ่งจะถือว่าเป็น (Mission) ที่สำคัญขององค์กรแสดงถึงขอบเขตของการดำเนินกิจการ
3. กลยุทธ์ระดับสายงาน (Functional Strategy)
หมายถึงแนวนโยบายตามสายการแบ่งงาน เป็นการนำกลยุทธ์มาใช้ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุได้ซึ่งวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์กรที่สามารถประเมินค่าออกมาได้อย่างชัดเจน และจะเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องครอบคลุมทุกหน่วยงานภายในองค์กรให้มีการสอดประสานกันเพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่หน่วยปฏิบัติงาน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น
Strategic Planning คือ
Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์) คือการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันของผู้บริหารภายในองค์กร ว่าธุรกิจภายในองค์เป็นเช่นไร ซึ่งอาจวัดได้จากเวลา 1-3 ปีที่ผ่านมา รายรับและรายจ่ายเป็นเช่นไร ซึ่งหากพบปัญหา เช่นยอดขายลดลง ขาดทุนต่อเนื่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ สามารถนำ Strategic Planning การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มาแก้ปัญหาได้ โดย
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ต้องตอบคำถาม 3 ประการ
1. ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2. ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3. จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร
ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เพื่อ
1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
3. กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์
ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4. ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมของ
องค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร
เกณฑ์สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์
• เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
• เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
• เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในระยะยาว
• เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น ที่เหมาะสม
• เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้
สาเหตุที่ทำให้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ล้มเหลว
• วิสัยทัศน์ ภารกิจ ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
• การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
• สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
• หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
• การพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถวางแผนอัตรากำลัง และไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 5 ขั้นตอน
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
จุดอ่อน งานด้านบริการที่ต้องปรับปรุง สภาพของรถไฟที่เก่า ความสะอาดที่ยังไม่ทั่วถึง
จุดแข็ง ประหยัด ปลอดภัย
โอกาส ขึ้นอยู่กับงบประมาณ เนื่องจาก การรถไฟฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ หากต้องทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่ต้องใช้งบประมาณสูง ต้องรับรับความเห็นชอบ และงบประมาณจากรัฐบาล ทั้งนี้ต้องให้รัฐฯ เห็นปัญหา แนวทางแก้ไข และสิ่งที่คาดว่าจะได้รับในการปรับปรุงครั้งนี้
อุปสรรค รถไฟต้องให้บริการกับผู้โดยสารทุกวัน เพราะฉะนั้นการที่จะทำการปรับปรุงครั้งเดียวเสร็จคงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเราอาจเลือกในช่วงที่ไม่มีเทศกาลการกลับถิ่นฐาน ค่อยๆ ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมขบวนรถไฟ
2. จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
ทำหนังสือแจ้งให้ทราบถึงแนวทาง และหลักปฏิบัติ โดยทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้บริหาร ระดับกลางและล่าง ที่เข้าร่วมประชุม นำข้อสรุป ที่ได้รับมาจากการประชุมคณะผู้บริหาร ต้องชื้แจงและอธิบายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบโดยทั่วกัน
3. กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์
ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
1. จัดทำงบประมาณในการปรับปรุง ซ่อมแซม
2. กำหนดช่วงระยะเวลาในการดำเนินการ ซ่อมแซม
4.ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
ดำเนินการตามที่กำหนดไว้
5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ทำการประเมินผลโดย คะแนนการตรวจสอบจากผู้บริหาร จากนั้น 3 เดือน จัดทำแบบสอบถามความพึ่งพอใจของผู้โดยสาร อีก 3 เดือน สรุปรายได้ ก่อนและหลังการปรับปรุง 6 เดือน หากเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ให้ดำเนินการต่อ เพิ่มและลดสิ่งที่เห็นสมควร